มิจฉาชีพในคราบเจ้าหน้าที่ธนาคาร ชักชวนให้ลงทุนในกองทุนปลอม อ้างให้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น โดยใช้ชื่อเว็บไซต์และอีเมล ใกล้เคียงกับของจริงเป็นกลยุทธ์ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและตายใจ สูญเสียทรัพย์ไปกว่าล้านบาท
นายเอ(นามสมมติ) เป็นนักธุรกิจที่เกษียณอายุแล้ว และเป็นเจ้าของกองทุนแห่งหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นนายเอและภรรยามีการเงินที่ดีสามารถลงทุนในกองทุนของตนได้ แต่ ณ เวลานั้นกองทุนให้อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก นายเอจึงได้ทำการหาข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ดีที่สุดบน Google และได้ฝากข้อมูลติดต่อไว้บนหลาย ๆ เว็บไซต์ ที่นายเอค้นหาเจอ(มาทราบภายหลังว่ามีเว็บไซต์ลงทุนปลอมอยู่ด้วย)
หลังจากที่นายเอได้ทิ้งข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ต่าง ๆ นายเอก็ได้รับโทรศัพท์จากนายบี(นามสมมติ) ซึ่งได้แอบอ้างว่าเป็นผู้บริหารพอร์ตสำหรับการลงทุนและเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนของธนาคารแห่งหนึ่ง(เป็นธนาคารที่มีอยู่จริง) โทรติดต่อมาเนื่องจากเห็นข้อมูลของนายเอที่ได้ทิ้งไว้บนเว็บไซต์ เนื่องจากนายบีดูมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน นายเอจึงได้บอกกับนายบีว่าตนเองสนใจการลงทุนระยะสั้น ซึ่งนายบีก็ได้แนะนำว่าตนมีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับนายเออยู่แต่จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบผ่านทางอีเมล
หลังจากที่ได้พูดคุยกับนายบีผ่านไป 1 วัน นายเอได้รับอีเมลจากนายบี ซึ่งชื่ออีเมลที่นายบีใช้นั้นมีการตั้งให้ใกล้เคียงกับอีเมลจริงของพนักงานธนาคารที่ถูกแอบอ้าง ทำให้นายเอไม่ทันสังเกตุและไม่เอะใจ เนื้อหาภายในอีเมลได้ระบุเกี่ยวกับข้อมูลธนาคารและการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หลังจากได้รับอีเมลนายบีได้โทรกลับมาหานายเออีกครั้งเพื่ออธิบายเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลว่าเป็นลักษณะพันธบัตรระยะสั้น แบบ 3 เดือน ให้อัตราดอกเบี้ย 4.75% ทำให้นายเอเกิดความสนใจและตัดสินใจลงทุนตามคำแนะนำของนายบี ซึ่งนายบีจะทำการจัดเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ไว้ให้และนายบียังอ้างว่าทางธนาคารจะทำการส่งอีเมลเพื่อแจ้งข้อมูลการเปิดบัญชีให้อีกครั้ง
ในเวลาต่อมา นายเอได้รับอีเมลอีกครั้ง ซึ่งเป็นอีเมลจากนางซี(นามสมมติ) โดยนางซีได้ใช้กลยุทธ์เดียวกันคือตั้งชื่ออีเมลให้ใกล้เคียงกับอีเมลจริงของพนักงานธนาคาร และได้ทำการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีของธนาคารและได้แจ้งขอเอกสารยืนยันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารยืนยันตัวตน, เอกสารที่อยู่ และเอกสารจัดตั้งธุรกิจ เพื่อทำการตรวจสอบการฟอกเงิน เนื่องจากนายเอมีการลงทุนผ่านกองทุนของตัวเอง
ภายในวันเกียวกัน นายเอได้ทำการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนายบีอยู่หลายครั้ง ซึ่งจากข้อมูลที่พบทำให้นายบีดูเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ โดยนายเอไม่ทราบว่าเว็บไซต์นั้นเป็นเว็บไซต์ปลอม นายเอจึงตัดสินใจลงทุนด้วย และในเวลาเดียวกันนายเอได้รับอีเมลที่มีเอกสารแนบมาด้วยเกี่ยวกับข้อตกลงซื้อพันธบัตรสำหรับลูกค้าใหม่ พร้อมกับการรับประกันการซื้อคืน ภายในเอกสารมีข้อมูลต่าง ๆ และในส่วนท้ายของเอกสารยังมีสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนอีกด้วย ยิ่งทำให้นายเอเกิดความเชื่อมั่นและมั่นใจในความน่าเชื่อถือของธนาคารนี้อย่างสนิทใจ
ต่อมานายบีได้โทรแจ้งนายเอว่า วิธีการชำระเงินลงทุนจะต้องทำการแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ละ หลักแสนบาท และจะต้องใส่รหัสอ้างอิงด้วย โดยให้นายบีโอนเงินไปยังบัญชีหนึ่งที่อ้างว่าเป็นบัญชีกลางของธนาคารดังกล่าว แต่เนื่องจากจำนวนเงินที่มากผิดปกติจึงทำให้ธนาคารที่นายเอใช้บริการไม่อนุมัติการทำธุรกรรม พร้อมทั้งส่งข้อความแจ้งเตือนนายเอเรื่อง”การเตือนภัยการหลอกลวง”
นายเอจึงได้ติดต่อไปยังธนาคารที่ตนใช้บริการเพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารที่นายบีได้แจ้งไว้ แต่ธนาคารก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ เนื่องจากเหตุผลทางด้านความเป็นส่วนตัว ทำให้นายเอตัดสินใจที่จะลงทุนต่อ นายเอจึงได้กลับไปแจ้งกับนายบีว่าไม่สามารถทำธุรกรรมได้ เมื่อนายบีทราบเรื่องจึงได้ส่งข้อมูลให้นายเอดำเนินการใหม่อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้นายเอสามารถโอนเงินได้สำเร็จ และได้รับอีเมลจากนางซีเป็นการยืนยันว่านายเอได้ทำการซื้อขายสำเร็จแล้ว ทำให้นายเอไม่ได้เอะใจหรือฉุกคิดและยังทำการโอนเงินให้อีกหลายครั้งรวมทั้งหมดเป็นมูลค่ากว่าล้านบาท และในทุก ๆ ครั้งที่นายเอโอนเงินเสร็จก็จะได้รับอีเมลจากนางซีทุกครั้งด้วยเช่นกัน
หลังจากที่นายเอโอนเงินลงทุนครบตามที่นายบีแจ้งไว้แล้ว นายเอก็ได้รับอีเมลจากนายบีอีกครั้ง เป็นอีเมลแจ้งอนุมัติบัญชีการลงทุนพร้อมแนบลิงก์และรหัสผ่านเข้าสู่พอร์ตการลงทุนให้กับนายเอ ในวันเดียวกันนั้นนายบีได้โทรเข้ามาหานายเอโดยแจ้งว่าเป็นการประเมิณลูกค้า ทำให้นายเอยังไม่เอะใจเพราะยังติดต่อกันได้ หลังจากเวลาผ่านไป 1 อาทิตย์นายบีได้โทรหานายเออีกครั้งเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนและยังเสนอการลงทุนพันธบัตรอีกหลายรายการ แต่นายเอที่ลงทุนไปเยอะแล้วก็ได้ปฏิเสธนายบีกลับไปว่าตนไม่มีเงินเพียงพอที่จะลงทุนแล้ว
ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 3 เดือนตามที่นายบีแจ้งไว้ว่าจะได้รับผลตอบแทน นายเอได้รับโทรศัพท์จากบุคคลหนึ่ง นั่นคือนายดี(นามสมมติ) อ้างว่าตนมาจากบริษัทแห่งหนึ่งและแจ้งว่านายเอกำลังโดนหลอกลวงโดยนายบีและนางซีที่อ้างว่าเป็นพนักงานของธนาคารแห่งหนึ่ง และนายดียังได้บอกนายเอว่าบริษัทที่ตนทำงานนั้นสามารถกู้เงินคืนจากกระเป๋าดิจิทัลให้นายเอได้ และแนะนำนายเอว่าให้เขียนอีเมลถึงธนาคารที่เคยลงทุนกับนายบีเรื่องผลตอบแทนพร้อมเรื่องการขอเงินคืน เนื่องจากจะครบระยะพันธบัตรเวลา 3 เดือน นายเอจึงตัดสินใจส่งอีเมลไปแต่กลับไม่ได้รับการติดต่อกลับเลย รวมถึงนายดีก็ยังโทรติดต่อนายเออยู่ตลอด แต่เนื่องจากนายเอรู้สึกสงสัยนายดีและไม่ชอบวิธีการของเขา จึงได้ทำการบล็อกการโทรของนายดีไป
จากเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้นายเอตระหนักได้ว่าว่าตนเองนั้นถูกเหล่ามิจฉาชีพหลอกลวงให้ลงทุน จึงได้ทำการแจ้งความและเข้ามาปรึกษากับเรา AMLBot
จากการสืบสวนทำให้ทราบว่า นายเอผู้เสียหายถูกนายบีและนางซีหลอกลวง ชักชวนให้ลงทุนปลอมโดยอ้างชื่อธนาคารชื่อดังที่มีอยู่จริง ซึ่งกลยุทธ์ที่คนกลุ่มนี้ใช้คือการตั้งชื่อเว็บไซต์(ชื่อโดเมน)ปลอมให้ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริงมากที่สุด อีกทั้งยังออกแบบหน้าเว็บไซต์ได้คล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงมากจนแยกได้ยาก และยังใช้ชื่ออีเมลใกล้เคียงกับของพนักงานในธนาคารจริงอีกด้วย หรือแม้กระทั่งเอกสารรวมถึงจดหมายในการลงทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายของธนาคาร ทำให้นายเอไม่ทันสังเกตุ หลงเชื่อ ทำการโอนเงินให้หลายครั้งรวมมูลค่าความเสียหายกว่าล้านบาท
จากการติดตามเส้นทางการเงิน ที่นายเอทำการโอนเงินไปยังบริษัทฯ ที่อ้างว่าเป็นบัญชีพักเงินเพื่อรอการเปลี่ยนแปลงธุรกรรมนั้น พบว่ามิได้มีการนำเงินไปลงทุนแต่อย่างใดเพียงแต่เป็นการถ่ายโอนไปยังบัญชีต่าง ๆ เท่านั้น จากการตรวจสอบพบว่าเงินที่นายเอโอนไปนั้นถูกโอนไปยังบริษัทฯ แห่งหนึ่ง เมื่อได้ทำการขยายผลพบว่า บริษัทฯ แห่งนี้ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและยังดำเนินกิจการอยู่ และตั้งอยู่ที่ประทศไทย โดยมีนางสมศรี(นามสมติ)ดำรงตำแหน่งกรรมการ ซึ่งสิ่งที่สังเกตุได้คือนอกจากจะเป็นกรรมการให้บริษัทฯ แห่งนี้แล้ว นางสมศรียังเป็นกรรมการให้กับบริษัทฯ ที่อ้างว่าเป็นบัญชีพักเงินที่นายเอโอนเงินไปให้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างบริษัททั้งสอง
นอกจากนางสมศรีที่เป็นกรรมการเรายังพบนายตรีเทพ(นามสมมติ) เป็นอีกหนึ่งกรรมการที่คาดว่ามีความเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีการตรวจสอบพบว่านายตรีเทพมีการได้รับผลประโยชน์จากบริษัทฯ ที่อ้างว่าเป็นบัญชีพักเงินที่นายเอโอนเงินไปให้ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นอีกด้วย
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อนำทรัพย์สินคืนให้ผู้เสียหาย หากไม่สำเร็จก็จะต้องดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ตรวจสอบข้อเท็จจริง
ใช้AMLBot Pro ในการค้นหาเส้นทางการเงินดิจิทัล
ตรวจสอบเส้นทางทั้งหมด จนสามารถระบุตัวคนร้าย
ยื่นฟ้องร้องเพื่อนำทรัพย์สินคืนแก่ผู้เสียหาย
หรืออยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเคสนี้ทั้งหมด เนื่องจากเราไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ท่านสามารถเข้ามาสอบถามเราได้ที่สำนักงาน AMLBot Thailand เราสามารถเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดได้ที่สำนักงาน
เป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดนหลอกโดยมิจฉาชีพ ติดต่อเรา
AMLBot Thailand คือมืออาชีพในการติดตามทรัพย์สินพร้อมกับทวงคืนทรัพย์สินที่โดนหลอกโอนเงินจากมิจฉาชีพหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์